สถิติ
เปิดเมื่อ15/02/2016
อัพเดท5/03/2016
ผู้เข้าชม23735
แสดงหน้า29741
ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31




บทความ

การเกิดปฏิกิริยาเคมี
       เมื่อสารทำปฏิกิริยากันจะมีสารใหม่เกิดขึ้นซึ่งสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงได้จากการเกิดฟองแก๊สการเกิดตะกอน  การเปลี่ยนสีหรือการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของปฏิกิริยา โดยสารเข้าไปทำปฏิกิริยากันเรียกว่า  สารตั้งต้น หรือ ตัวทำปฏิกิริยา(Reactant)  ส่วนสารใหม่ที่เกิดขึ้นเรียกว่า  ผลิตภัณฑ์  (Product)  อย่างไรก็ตามในบางปฏิกิริยาอาจไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงตามที่กล่าวมาอย่างชัดเจน 
     
       ปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ เขียนแทนได้ด้วยสมการเคมีโดยจะเขียนสารตั้งต้นไว้ทางซ้ายและเขียนผลิตภัณฑ์ไว้ทางขวาของสมการ โดยมีลูกศรอยู่ตรงกลาง และหัวลูกศรชี้ไปทางผลิตภัณฑ์ เช่น ปฏิกิริยาระหว่างสารละลายกรดไฮโดรคลอริกกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ เขียนสมการเคมีได้ดังนี้
       
         HCl(aq) + NaOH(aq) → NaCl(aq) + H2O(l)

               ปฏิกิริยาระหว่างแมกนีเซียมกับสารละลายกรดไฮโดคลอริก เขียนสมการเคมีได้ดังนี้
         Mg(s) + 2HCl(aq) → MgCl2(aq) + H2(g)
     
        อักษรย่อที่อยู่ในวงเล็บจะบอกถึงสถานะหรือภาวะของแต่ละสารในสมการเคมีความหมายของอักษรย่อต่าง ๆ เป็นดังนี้
  • aq (aqueous)      หมายถึง สารนั้นละลายอยู่ในน้ำ
  • s   (solid)           หมายถึง สารนั้นอยู่ในสถานะของแข็ง
  •    (liquid)         หมายถึง สารนั้นอยู่ในสถานะของเหลว  
  • g   (gas)             หมายถึง สารนั้นอยู่ในสถานะแก๊ส